วิธีดูแลสระว่ายน้ำให้สะอาด สวยงาม น่าใช้งานอยู่เสมอ
1. ทำความสะอาดเบื้องต้น 
เริ่มต้นด้วยการใช้สวิงหรือกระชอนช้อนสิ่งสกปรก ใบไม้ แมลงและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ
ขึ้นจากน้ำ โดยควรดูแลสระว่ายน้ำด้วยการช้อนสิ่งสกปรกทุก 2-3 วัน เนื่องจากหากปล่อยไว้นานจะทำให้สิ่งสกปรก เหล่านี้จมลงสู่ใต้น้ำ ทำให้น้ำขุ่นหรือสกปรกได้ และยากต่อการทำความสะอาดมากยิ่งขึ้น
2. ดูดตะกอนในสระว่ายน้ำ
หลังจากใช้แปรงขัดสระว่ายน้ำเรียบร้อยแล้ว ต่อสายและหัวดูดเข้า แล้วทิ้งหัวดูดลงในน้ำ
แล้วกรอกน้ำเข้าสายดูดจนเต็มสายจากนั้นจึงต่อเข้ากับ เครื่องดูดตะกอนสระว่ายน้ำ
โดยควรดูดให้ทั่วทั้งพื้น และผนังสระว่ายน้ำ โดยควรเลือกหัวดูดให้เข้ากับประเภทของวัสดุที่ใช้สร้างสระว่ายน้ำ เช่น สระว่ายน้ำที่ใช้กระเบื้องควรเลือกใช้แปรงขนอ่อน
แทนแปรงที่แข็งกว่า เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนบนพื้นผิว
3. ตรวจสอบระดับน้ำในสระว่ายน้ำ
(แทรกเรื่องการทำกันซึม)
โดยปกติแล้วน้ำในสระมักจะระเหยหายไปตามธรรมชาติหรือจากการใช้งาน แต่นอกจากนี้ปัญหารั่วซึมก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำในสระลดลงได้ โดยควรทดสอบด้วยการเติมน้ำลงในถังพลาสติกประมาณ 3 ใน 4
จากนั้นวางไว้ข้างสระว่ายน้ำ โดยอย่าลืมทำเครื่องหมายไว้ที่สระว่ายน้ำด้วย
ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน หากน้ำในสระลดลงมากกว่าน้ำในถังอาจเป็นเพราะปัญหารั่วซึมได้
4. ทำความสะอาดเครื่องกรอง 

นอกจากเศษฝุ่น ใบไม้ และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ แล้ว เครื่องกรองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย
ดูแลสระว่ายน้ำให้ปราศจากสิ่งสกปรกด้วย ควรนำตัวกรองออกมาทำความสะอาดเสียบ้าง
เพื่อป้องกันปัญหาตัวกรองอุดตัน
5. ตรวจสอบค่า pH
ต่อมาเป็นวิธีดูแลสระว่ายน้ำด้วยการตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำ
โดยปกติแล้วการควบคุมความเป็นกรดด่างของน้ำในสระจะอยู่ที่
pH 7.2-7.8 (pH>7 เป็นด่าง และ pH<7 เป็นกรด)
ซึ่งหากค่า pH มีสภาพเป็นกรดมากเกินไป จะมีผลต่อการกัดกร่อนกาวยาแนวและกาวซีเมนต์
สำหรับวิธีการใช้ชุดทดสอบค่า pH ก็ทำได้ง่าย เพียงตักนำในสระใส่ในหลอดทดสอบ
แล้วหยดน้ำยาที่มาพร้อมชุดทดสอบประมาณ 4 หยด แล้วเขย่าให้เข้ากัน จากนั้นก็สามารถดูผลจากสเกลที่อยู่บนกระบอกได้เลย
6. ตรวจสอบปริมาณสารเคมีในสระว่ายน้ำ
นอกจากค่าความเป็นกรด-ด่างแล้ว ยังมีค่าสารเคมีชนิดอื่น ๆ ที่ต้องใส่ลงในสระว่ายน้ำ
ดยการวัดสารเคมีสามารถใช้เครื่องวัดแบบดิจิทัล ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกได้
โดยปริมาณสารเคมีอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้
1.ค่าสารซัลเฟต ในสระว่ายน้ำควรอยู่ไม่เกิน 250 ppm
หากมากเกินไปจะทำให้กัดกร่อนยาแนวและกาวซีเมนต์ได้
2.ปริมาณแคลเซียม ควรอยู่ที่ 200-250 ppm

